วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Solar cell - บ.ไตรเทพ อินดัสตรี จำกัด

 
บทเรียนความเป็นมาของโซลาร์เซลล์, การคำนวณ
ความรู้เรื่อง : เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)
 
เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์(หรือแสงจากหลอดแสงสว่าง)ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงและไฟฟ้า
ที่ได้นั้นจะเป็น ไฟฟ้ากระแสตรง(Direct Cuurent)จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง(RenewableEnergy)สะอาดและไม่สร้างมลภาวะใดๆขณะใช้งาน

ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon)
โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลกซึ่งมีประสิทธิภาพ
เพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศดาวเทียม
หรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสีต่างๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม

เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด
พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกเรามีค่ามหาศาลบนพื้นที่1ตารางเมตรเราจะได้พลังงานประมาณ1,000วัตต์ หรือเฉลี่ย 4-5 กิโลวัตต์/ชั่วโมง/ตารางเมตร/วันซึ่งมี
ความหมายว่าในวันหนึ่งๆบนพื้นที่เพียง1ตารางเมตรนั้นเราได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ 1กิโลวัตต์เป็นเวลานาน ถึง 4-5ชั่วโมงนั่นเองถ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพ ในการแปลง
พลังงานร้อยละ15ก็แสดงว่าเซลล์แสงอาทิตย์จะมีพื้นที่ 1ตารางเมตรจะสามาถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้150วัตต์หรือเฉลี่ย600-750วัตต์/ชั่วโมง/ตารางเมตร/วัน ในเชิงเปรียบเทียบ
ในวันหนึ่งๆประเทศไทยเรามีความต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ250ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง/วันดังนั้นถ้า เรามีพื้นที่ประมาณ1,500ตารางกิโลเมตร(ร้อยละ0.3ของประเทศไทยเราก็
สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้เพียงพอกับความต้องการทั้งประเทศ

หลักการทำงานและการใช้งานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์
- โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำซึ่งวัสดุสารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกได้แก่ซิลิกอน
ซึ่งถลุงได้จาก
ควอตไซต์ หรือทรายและผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ตลอดจนการทำให้เป็นผลึก
- เซลล์แสงอาทิตย์หนึ่งแผ่นอาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลม (เส้นผ่นศูนย์กลาง5นิ้ว)หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ด้านละ 5 นิ้ว ) มีควมหนา200 - 400ไมครอน ( ประมาณ 0.2 – 0.4 มิลลิเมตร )
และต้องนำมาผ่านกระบอนการแพร่ซึมสารเจือปนในเตาอุณหภูมิสูง( ประมาณ1000C )เพื่อสร้างรอยต่อ P-N ขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นผิวสัมผัสโลหะเต็มหน้าส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่
รับแสงจะมีลักษณะเป็นลายเส้นคล้ายก้างปลาเมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบกับเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการสรางพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ และประจุบวก ขึ้นซึ่งได้แก่อิเล็กตรอนและ
โฮลโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบและทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ด้วย
เหตุนี้ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสองเมื่อเราต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า( เช่นหลอดแสงสว่าง มอเตอร์ เป็นต้น)ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
สลับก่อน
- เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง5นิ้วจะให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรประมาณ3แอมแปร์และให้แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิดประมาณ 0.5 โวลต์ถ้าต้องการให้ได้กระแสไฟฟ้ามากๆก็
ทำได้โดยการนำเซลล์มาต่อขนานกันหรือถ้าต้องการให้ได้รแรงดันสูงๆก็นำเซลล์มาต่ออนุกรมกันเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีขายในท้องตลาดจะถูออกแบบให้อยู่ในกรอบอลูมินั่ม
สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเรียกว่า แผง หรือ โมดูล
-เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นชนิดกระแสตรง ดังนั้นถ้าผู้ใช้ต้องการนำไปจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ ไฟฟ้ากระแสสลับต้องต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับ
อินเวอร์เตอร์ ( Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าจากกระแสตรงให้เป็นกระแสสลับก่อน
-ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้เฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในเวลากลางวันเช่นหลอดแสงสว่างกระแสตรงสามารถต่อเซลล์แสงอาทิตย์กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงได้โดยตรง
-ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในเวลากลางวันเช่นตู้เย็นเครื่องปรับอากาศในระบบจะต้องมีอินเวอร์เตอร์ด้วย
-ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนด้วยจะต้องมีแบตเตอรี่เข้ามาใช้ในระบบด้วย

กล่องควบคุมการประจุไฟฟ้าทำหน้าที่
1.เลือกว่าจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังอินเวอร์เตอร์หรือส่งไปยังแบตเตอรี่หรือ
2.ตัดเซลล์แสงอาทิตย์ออกจากระบบและต่อแบตเตอรี่ตรงไป ยังอินเวอร์เตอร์

 
-อินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับในการแปลงดังกล่าวจะเกิดการสูญเสียขึ้นเสมอโดยทั่วไปประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์มีค่าประมาณร้อยละ
85-90 หมายความว่าถ้าต้องการใช้ไฟฟ้า 85-90 วัตต์เราควรเลือกใช้อินเวอร์เตอร์100 วัตต์เป็นต้น ในการใช้งานเราควรติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 40 C °
ความชื้นไม่เกินร้อยละ 60 อากาศระบยได้ดี ไม่มีสัตว์เช่น หนู งู มารบกวน และมีพื้นที่ให้บำรุงรักษาได้เพียงพอ
-สถานที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ควรเป็นที่โล่งไม่มีเงามาบังเซลล์ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่นอาจอยู่บนพื้นดินหรือบนหลังคาบ้าน ก็ได้ควรวางแผงเซลล์ให้มีความลาดเอียง
ประมาณ10- 15 องศาจากระดับแนวนอนและหันหน้าไปทางทิศใต้การวางแผงเซลล์ให้มีความลาดดังกล่าวจะช่วยให้เซลล์รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดและช่วยระบายน้ำฝนได้รวดเร็ว

การออกแบบขนาดของระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน
 
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง
เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าจะใช้เซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างเพื่อจะได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ได้เพียงพอกับความต้องการและไม่ติดตั้ง
มากเกินความจำเป็น
 
ตัวอย่างที่1 บ้านหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและชั่วโมงของการใช้งานดังนี้
เครื่องใช้ไฟฟ้า
จำนวน(1)
กำลังไฟฟ้าต่อชิ้น (วัตต์)(2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน (3)
ผลคำนวนวัตต์-ชั่วโมง) (1)x(2)x(3)
หลอดฟลูออเรสเซนต์
2
36
5
360
โทรทัศน์
1
100
3
300
เครื่องปรับอากาศ
1
1,500
4
6,000
อื่นๆ
-
100
1
100
รวม
6,760
 
-จากตารางข้างต้นนี้ได้ข้อมูลในหนึ่งวันบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้า 6,760 วัตต์-ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง
(Pcell)คำนวนได้ง่ายๆจากสูตรดังต่อไปนี้

Pcell = Pl/(QxAxBxC/D)

โดยที่ Pl : ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในหนึ่งวัน
Q : พลังงานแสงอาทิตย์ในหนึ่งวัน (วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร) สำหรับประเทศไทยเท่ากับ 4,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตรโดยประมาณ
A : ค่าชดเชยการสูญเสียของเซลล์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.8
B : ค่าชดเชยความสูญเสียเชิงความร้อน โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85
C : ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85 –0.9
D : ความเข้มแสงปกติ = 1,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร
เพราะฉะนั้น บ้านหลังนี้ต้องใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้เท่ากับ
Pcell = (6,760/4,000x0.8x0.85x0.85/1,000) = 2,923 W หรือประมาณ 2.9 kW

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์
จำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์คำนวณได้โดยใช้กำลังไฟฟ้าของระบบหารด้วยกำลังไฟฟ้าที่เซลล์หนึ่งแผงที่ผลิตได้เมื่อทราบค่าจำนวนแผงแล้วขั้นตอนต่อไปคือจะต้องคำนวลว่า
จะต้องนำเซลล์มาต่ออนุกรมหรือขนานกันอย่างไรจึงจะได้แรงดันไฟฟ้าทื่เพียงพอต่อการใช้งานจำนวนแผงเซลล์ที่จะต้องต่ออนุกรมกันหาได้โดยการใช้ค่าแรงดัรไฟฟ้าที่ต้องการ
หารด้วยแรงดันเอาต์พุตของหนึ่งแผง

ตัวอย่างที่ 2 จากตัวอย่างที่หนึ่งทราบว่าจะต้องติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับ 2.9 kW และแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ต้องป้อนให้อินเวอร์เตอร์คือ 200 v ถามว่าจะต้องใช้แผงเซลล์
แสงอาทิตย์กี่แผงและจะต้องต่อเรียงกันอย่างไร โดยสมมุติว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีสเปกดังนี้ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 50 วัตต์ (W) แรงดันไฟฟ้าสู.สุด 17 โวลต์ (V) กระแส
ไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 2.94 แอมแปร์ (A) แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด 21.3 โวลต์ (V) และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร 3.15 แอมแปร์ (A)

วิธีพิจารณา
ประมาณการเริ่มแรกของจำนวนของแผงเซลล์ที่ต้องติดตั้งทั้งหมด
= 2,900 (W) / 50 (W) = 58 แผง
จำนวนของแผงเซลล์ที่ต่ออนุกรม
= 200(V)/ 17(V) =12แผง(ปัดเศษขึ้น)
จำนวนแผงที่ต้องต่อขนาน
= 58 / 12 = 5 แถว (ปัดเศษขึ้น)
ดังนั้นกรณีบ้านหลังนี้จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด
= 12 x 5 = 60 แผง
โดยต่ออนุกรมแถวละ 12 แผงและต่อขนาน จำนวน5 แถว

การบำรุงรักษาแผงเซลล์แสงอาทิตย์และอายุการใช้งาน
- อายุการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์โดยทั่ไปยาวนานกว่า20ปีการบำรุงรักษาก็ง่ายเพียงแต่คอยดูแลว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผง
เซลล์หรือไม่เช่นฝุ่นมูลนกใบไม้ถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกก็ใช้น้ำทำความสะอาดปีละ1–2ครั้งก็เพียงพอห้ามใช้น้ำยาพิเศษล้างหรือใช้
กระดาษทรายขัดผิวกระจกโดยเด็ดขาด เมื่อเวลาฝนตก น้ำฝนจะช่วยชำละล้างแผงเซลล์ได้ตามธรรมชาติ
- สำหรับในระบบที่มีการใช้แบตเตอรี่ชนิดใช้น้ำกลั่น (Lead Acid) ห้ามใช้ไฟฟ้าจนแบตเตอรี่หมดแต่ควรใช้ไฟฟ้าเพียงร้อยละ 30 – 40 และเริ่ประจุไฟฟ้าใหม่ให้เต็มก่อนการใช้ครั้ง
ต่อไปและต้องคอยหมั่นเติมน้ำกลั่นและเช็ดทำความสะอาดขั้วของ
แบตเตอรี่
- ในกรณีที่มีการใช้อินเวอร์เตอร์ควรสังเกตว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือเกิดความร้อนผิดปกติหรือไม่ถ้าพบความผิดปกติให้รีบตัด
ระบบไฟฟ้าออกจากอินเวอร์เตอร์และติดต่อบริษัทผู้ขาย เพื่อให้ตรวจหาสาเหตุและแก้ไขให้ใช้งานได้ต่อไป

ประเภทของ " เซลล์แสงอาทิตย์ "

1. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอน (Single Crystalline Silicon Solar Cell)และชนิดผลึกโพลีซิลิกอน (Polycrystalline Silicon Solar Cell)ประเทศไทยนำเข้าเซลล์
แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอนมาใช้งานมากที่สุด ข้อดีเด่นคือ ใช้ธาตุซิลิกอนซึ่งมีมากที่สุดในโลกและมีราคาถูกเป็นวัตถุดิบ
2. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน (Amorphous Silcon Solar Cell)ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในเครื่องคิดเลขซึ่งมีลักษณะสีม่วงน้ำตาล มีความบางเบา ราคา
ถูกผลิตให้เป็นพื้นที่เล็กไปจนถึงใหญ่หลายตารางเมตรได้ใช้ธาตุซิลิกอนเช่นกัน แต่เคลือบให้เป็นฟิล์มบางเพียง 0.5 ไมครอน หรือ 0.0005 มิลลิเมตรเท่านั้น
3. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกแกลเลียมอาร์เซไนดิ (Gallium Arsenide Solar Cell) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิธิภาพสูงระดับร้อยละ 25 ขึ้นไปแต่มีราคาแพงมากไม่นิยมนำมา
ใช้งานบนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมเป็นส่วนมาก
-เซลล์แสงอาทิตย์เป็นแปล่งพลังงานทดแทนซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ (หรือแสงจากหลอดแสงสว่าง)ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน
ทดแทนที่สะอาดและไม่สร้างมลภาวะขณะใช้งานไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเพียง แต่ติดตั้ง
เซลล์แสงอาทิตย์ไว้กลางแดดก็สามารถใช้งานได้ทันทีเซลล์แสงอาทิตย์ทำงานได้โดยไม่สร้างเสียงรบกวนหรือการเคลื่อน ไหวเนื่องจากเซลล์แสงอาทิตย์ทำงานโดยใช้พลังงาน
แสงอาทิตย์เท่านั้นจึงเป็นการประหยัดน้ำมันและอนุรักษ์พลังงานและสามารถผลติกระแสไฟฟ้าได้จากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทีทมนุษย์ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุดอายุการใช้งาน
ของเซลล์แสงอาทิตย์ยาวนานกว่า 20 ปี ดังนั้นเมื่อลงทุนติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในครั้งแรก ก็แทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกต่อไป
- การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มีความสลับซับซ้อนและไม่มีอันตราย ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อและติดตั้งเพื่อใช้งานในครัวเรือนด้วยตนเอง การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์แบบ
ง่ายๆ อาจเริ่มจากการซื้ออุปกรณ์ชุดเซลล์แสงอาทิตย์สำเร็จรูปมาใช้งานเพื่อให้เกิดการคุ้นเคย เช่น ไฟส่องสนามพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟส่องโรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์
ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์พลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการออกแบบระบบใหญ่ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

บทสรุป
แสงอาทิตย์เป็นพลังงานแห่งจักรวาล ต้นกำเนิดของพลวัตต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโลกของเรา และป็นแหล่งพลังงานที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิต บนดาวเคราะห์สีน้ำเงินใบนี้ น่าเสียดายที่เรา
ยังไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอ ที่จะประยุกต์ใช้ขุมพลังงานอันบริสุทธิ์ และยิ่งใหญ่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแต่กลับเผาผลาญเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ที่สะสมมานับเป็นล้านปี
ให้หมดไป ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วอายุคน และสิ่งเหล่านี้ก็ยากที่จะย้อนให้กลับคืนมาเหมือนเดิม ซึ่งผลที่ได้คือความสะดวกสบายและความเจริญก้าวหน้า แต่เราก็ต้องเผชิญกับความ
เสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมที่กำลังบั่นทอน ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้หวังว่าผลสำเร็จที่ได้จากโครงการนี้ จะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอการเผาไหม้เชื้อเพลิง เพื่อผลิตไฟฟ้าปีละประมาณ 1,200–1,500 ลิตร ได้อีกทางหนึ่ง และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น อันจะก่อให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพ และราคา ซึ่งจะส่งผลให้การใช้งาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณในอนาคต การเริ่มต้นร่วมมือกันในวันนี้คงยังไม่สาย หากเราจะกลับไปสู่พลังงานที่ให้กำเนิดชีวิต และมีให้ใช้อย่างเหลือเฟือ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และ ช่วยทำให้ปัญหามลภาวะเป็นพิษ
เบาบางลงไป อันหมายถึงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะหวนกลับคืนมาสู่มวลมนุษย์และสรรพชีวิตบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินใบนี้ ดังบทเพลงที่ กฟผ.ได้สร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ
ได้ร้องขับขาน เพื่อเชิญชวนให้คนไทยทุกคน ร่วมมือกันใช้พลังงานที่สะอาด เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. ข้อเสนอโครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ของการไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย ยื่นขอรับทุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
2. เอกสารเผยแพร่ ชุด สาระน่ารู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน "เซลล์แสงอาทิตย์" ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
3. การศึกษาแนวทางและหลักเกณฑ์ในการกำหนดนโยบายในการให้การสนับสนุนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4. เอกสารเผยแพร่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน "พลังงานจากแสงอาทิตย์"
5. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 41 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2541
 
 
 
 
การคำนวณปริมาณไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย ์

ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่ง ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้


1.หลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ 2 หลอด รวม 36 วัตต์แต่ละหลอดใช้ไฟฟ้า ทั้งหมด 6 ชั่วโมง
จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 36 x 6 = 216W/H
2. โทรทัศน์สี 43 วัตต์ เปิดใช้ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟ้าทั้งหมด 43 x 5 = 215W/H
3. พัดลมตั้งพืน 45 วัตต์ เปิดใช้ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 45 x 5 = 225W/H
4. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 800 วัตต์ ใช้ 0.5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 800 x 0.5 = 400W/H

จำนวนพลังงานที่ใช้ทั้งหมด = พลังงานที่เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้
ให้นำมารวมกัน 216 + 215 + 225 + 400 = 1,056 วัตต์ชั่วโมง
นำ 1,056 วัตต์ชั่วโมง หารด้วย 5 ชั่วโมง 1,056 / 5 = 211.2 W
จากนั้น เมื่อเราคำนวณจำนวนพลังงานที่ใช้ทั้งหมดได้แล้วก็สามารถจัดระบบโซลาร์เซลล์

ที่เหมาะสมกับ จำนวนพลังงานที่ใช้ได้แล้ว กล่าวคือ
ในระบบนี้ เราจะต้องใช้ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 211.2 W
ตามทฤษฎี เราติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพียงแค่ 211.2 W
 
แต่จากประสบการณ์การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในความเป็นจริงแล้ว จะพบว่า มีการดึงไฟจากแบตเตอรี่จากการอุปกรณ์ในระบบโซลาร์เซลล์เองและการกระชากของไฟ
ที่เกิดจากการเริ่มเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จึงทำให้เราต้อง จัดระบบโซลาร์เซลล์เผื่อไว้อีก อย่างน้อย 20 % เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้า
 
จากตัวอย่างเราควรใช้ ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ขนาด 280 W
 
หมายเหตุ
ที่คำนวณออกมาไม่สามารถระบุได้ในระบบ เพราะต้องขึ้นกับการจัดวางอุปกรณ์ในแต่ละสถานที่ ว่าวางห่างกันมากเพียงใดซึ่งมีผลต่อการคำนวณหาขนาดสายไฟทั้งสิ้น
 
ตารางแสดงค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์กินซึ่งไฟมากขณะเปิดเครื่องเป็นองค์ประกอบ
ชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้าโดยประมาณ
หน่วยเป็น วัตต์ (Watt)
Y = มีมอเตอร์ที่กินไฟ
มากเป็นองค์ประกอบ
หลอดไฟกลม
60
หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์
36
พัดลมตั้งพื้น 16''
74
วิทยุ
25
เครื่องเสียง/สเตอริโอ (Stereo)
3500
โทรทัศน์ 29''
145
เครื่องเล่น VCD
25
ตู้เย็น 6 คิว
128
Y
เครื่องทำน้ำร้อน
3500
หม้อหุงข้าว
720
เตาอบไมโครเวฟ
1150
กระติกน้ำร้อน
670
เครื่องปิ้งขนมปัง
750
ไดร์เป่าผม
1000
เครื่องดูดฝุ่น 30 ลิตร
1400
Y
เครื่องซักผ้า
450
Y
เครื่องปรับอากาศ 9000 BTU
2600
Y
เครื่องปรับอากาศ 12000 BTU
3800
Y
เครื่องปรับอากาศ 18000 BTU
5100
Y
เครื่องปรับอากาศ 22000 BTU
6600
Y
 
เครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านกินไฟกี่วัตต์โดยประมาณ ดูตรงนี้ (ขอบคุณข้อมูลจาก การไฟ้าส่วนภูมิภาค)

เครื่องใช้ไฟฟ้า
ปริมาณการสิ้นเปลือง(วัตต์ต่อชม.)
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ปริมาณการสิ้นเปลือง(วัตต์ต่อชม.)
พัดลมตั้งพื้น
45-75 วัตต์
ตู้เย็น 2-12 คิว (ลบ.ฟุต)
53-194 วัตต์
พัดลมเพดาน
70-104 วัตต์
เครื่องปรับอากาศ
680-3,300 วัตต์
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
500-1,000 วัตต์
เครื่องดูดฝุ่น
625-1,000 วัตต์
เตารีดไฟฟ้า
430-1,600 วัตต์
เตาไฟฟ้า (เดี่ยว)
300-1,500 วัตต์
เครื่องทำน้ำร้อนในห้องน้ำ
900-4,800 วัตต์
โทรทัศน์ ขาว-ดำ
24-30 วัตต์
เครื่องปิ้งขนมปัง
600-1,000 วัตต์
โทรทัศน์สี
43-95 วัตต์
เครื่องเป่าผม
300-1,300 วัตต์
วีดีโอ
30-50 วัตต์
เครื่องซักผ้า
250-2,000 วัตต์
เครื่องอบผ้าแห้ง
650-2,500 วัตต์


การคำนวณหาความจุของแบตเตอรี่และระยะเวลาการใช้งาน
การคำนวณหาความจุของแบตเตอรี่และระยะการใช้งานสามารถคำนวณหาความจุของแบตเตอรี่ที่ต้องใช้จากสูตร
 

โดยที่ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ = 0.60 (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)
= 0.80 (สำหรับแบตเตอรี่ Deep Cycle)
โดยทั่วไปประสิทธิภาพของ Inverter = 0.85

เมื่อรู้กำลังไฟฟ้าของโหลดที่ต้องการใช้, ความจุของแบตเตอรี่ และแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่แล้ว สามารถคำนวณหาระยะเวลาที่สามารถใช้งานโหลดได้จากสูตร
 
 
 
 
โดยที่
Ah คือ แอมป์-ชั่วโมง หรือ Amp-hour
W คือ วัตต์ หรือ Watts
hr คือ ชั่วโมง หรือ hour
V คือ โวลท์ หรือ Volt
หมายเหตุ : ระยะเวลาที่สามารถใช้งานโหลดได้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของโหลดนั้นๆด้วย
ตัวอย่างการคำนวณหาความจุ
ต้องการนำ Inverter ไปใช้งานกับพัดลมตั้งโต๊ะขนาด 100W ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ต้องใช้แบตเตอรี่ 12V ขนาดความจุเท่าไหร่
จากสูตร
ดังนั้น ต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดความจุประมาณ 140-150Ah
 
ตัวอย่างการคำนวณหาเวลา
ต้องการนำ Inverter ไปใช้งานกับมอเตอร์ปั๊มน้ำขนาด 1 แรงม้า (1HP = 750 W) โดยใช้แบตเตอรี่ 12V/100Ah จะสามารถใช้งานได้นานต่อเนื่องกี่ชั่วโมง
จากสูตร
 
 
 
  ดังนั้น สามารถใช้ปั๊มน้าได้นานต่อเนื่อง 0.816 ชั่วโมง หรือ 49 นาที
ถ้าเป็นปั๊มน้ำออโต้ที่ใช้ตามบ้านก็จะสามารถใช้งานได้นานกว่า 49 นาที เพราะว่าปั๊มน้ำชนิดนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการเปิดก๊อกน้ำเท่านั้น ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา 
 
 
หมายเหตุ
*************************************************************
 

ตารางเปรียบเทียบอัตรากินกระแสของเครื่องปรับอากาศ








ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type 1 เฟส 230 -240 V

ค่าโหลดของเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type 3 เฟส 380 -400 V

12000 BTU โหลด 1500 VA กินกระแสประมาณ 6.52 A (คิดที่ 230 V)
18000 BTU โหลด 1700 VA กินกระแสประมาณ 7.39 A (คิดที่ 230 V)
24000 BTU โหลด 2600 VA กินกระแสประมาณ 11.30 A (คิดที่ 230 V)
36000 BTU โหลด 4200 VA กินกระแสประมาณ 18.26 A (คิดที่ 230 V)

48000 BTU โหลด 6120 VA กินกระแสประมาณ 8.83 (คิดที่ 400 V)
60000 BTU โหลด 7830 VA กินกระแสประมาณ 11.30 (คิดที่ 400 V)
72000 BTU โหลด 9740 VA กินกระแสประมาณ 14.06 (คิดที่ 400 V)
84000 BTU โหลด 12180 VA กินกระแสประมาณ 17.58 (คิดที่ 400 V)
96000 BTU โหลด 12970 VA กินกระแสประมาณ 18.72 (คิดที่ 230 V)
108000 BTU โหลด 14020 VA กินกระแสประมาณ 20.23 คิดที่ 400 V)
120000 BTU โหลด 16450 VA กินกระแสประมาณ 23.74 คิดที่ 400 V)
150000 BTU โหลด 18820 VA กินกระแสประมาณ 27.16 (คิดที่ 400 V)
180000 BTU โหลด 22900 VA กินกระแสประมาณ 33.05 คิดที่ 400 V)
240000 BTU โหลด 35540 VA กินกระแสประมาณ 51.29 คิดที่ 400 V)
 

แอร์ ขนาด BTU, กินไฟ unit/year, กระแส
เรื่องแอร์รำคาญใจผมมานานแล้ว วันนี้เลยลงทุนอ่านอย่างจริงจัง (นิดหน่อย) จากอินเตอร์เนตหวังว่าคงเชื่อถือได้บ้างนะครับ ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดก็ช่วยแนะนำด้วยนะครับหน่วยที่ใช้บอก
ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของแอร์ คือ BTU/hour หรือ ที่เขาเรียกย่อๆว่า BTU โดย แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour มักจะถูกเรียกว่า แอร์ 1 ตัน โดย 1 BTU/hour = 0.293
Watt (กำลังงานในการทำความเย็น) แอร์ 12,000 BTU/hr มีความสามารถในการทำความเย็น 3,517 Watt แต่นี่คือความสามารถในการทำความเย็น ไม่ใช่กำลังไฟที่จะปรากฎมาที่มิเตอร์
ที่เราต้องจ่ายการไฟฟ้านะครับ แอร์จะบอกค่า EER หรือประสิทธิภาพของแอร์มาด้วย EER (Energy Efficiency Ratio) = Output Cooling Energy in BTU/Input Electrical Energy in
Wh. หรือพูดง่ายว่า พลังงานที่เราใช้ในการเปิดแอร์ 1 ชั่วโมง คิดได้จาก
E = (ค่า BTU/hr ของแอร์)/EER
เช่น เปิด แอร์ขนาด 12,000 BTU/hour ที่มีค่า EER = 11 ไป 1 ชั่วโมง ใช้ไฟเท่ากับ 12,000/11 = 1,091 Wh.
เรียกว่า แอร์ตัวนี้กินไฟเท่ากับ 1,091 W.
และถ้าอยากรู้กระแสที่ใช้ ซึ่งจริงๆแล้ว แอร์หลายๆเจ้าจะบอกมาใน spec. เช่น ของ Daikin (http://www.daikinac.com/commercial/docsSheets.asp)
จะบอกว่า:
min. circuit amp. 8.3 A
max. fusible amp. 15 A
rated load amp. 6.1 A.
หรือ หมายความว่า สายไฟที่ใช้กับแอร์ตัวนี้ต้องทนไฟได้อย่างน้อย 8.3 A. เปิดใช้ทั่วๆไป จะใช้ไฟไม่เกิน 6.1 A แต่ถ้าขอไฟจาก การไฟฟ้ามา 5A ก็จะไม่พอใช้เพราะ มันจะใช้อยู่แถวๆ 6.1 A(ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นเลย) ใช้งานปกติยังไงไม่เกิน 15 A เพราะงั้นถ้าซื้อ fuse/breaker ก็ซื้อ 15A. อีกนิดเรื่องไฟฟ้า
ถ้า กำลังงานไฟฟ้าที่ใช้คือ 1,091 W และเรารู้ว่าใช้ไฟ 220 V แปลว่ากระแส คือ 1,091/220 = 4.96 A หรือเปล่า?
คำตอบ: ไม่เชิง.

เพราะว่า สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับแล้ว
กำลังงาน (watt) = แรงดัน (V) x กระแสไฟฟ้า (A) x PF
โดยตัวสุดท้ายคือ Power Factor ซึ่งโดยทั่วไป PF มีค่าราวๆ 0.6 - 0.8 ขึ้นอยู่กับเครื่องไฟฟ้า

ผมอ่านดูในเวปหลายๆที่เขาบอกว่า ถ้าไม่รู้ว่า PF เท่าไร ให้ใช้ค่า 0.6
เช่น ถ้า แอร์เรากินไฟ 1,091 W กะคร่าวๆ มันน่าจะกินกระแส 1091/(220 x 0.6) = 8.26 A ดังนั้น เราควรเตรียมไฟฟ้าให้พอจ่ายกระแส 8.26 A ถ้าจะเปิดแอร์ตัวนี้ครับ (เปิด 2 ตัวก็ 17 A) ถ้าจะขอไฟการไฟฟ้า บางคนบอกว่า ขอ 15 A แต่ โหลดไปได้ถึง 45 Aผมก็ไม่รู้ครับ แต่ถ้าเป็นผม จะติดแอร์แบบนี้ 2 ตัว ผมว่าผมขอไฟ 30 A (100A) จากการไฟฟ้ามาดีกว่าครับ เรื่องกินไฟ ตีง่ายๆว่า unit ละ 3.28 และ 1 unit = 1 kWh
ดังนั้น
แอร์กินไฟ 1,091 W ถ้าเปิด 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟ 1.091 kWh
ถ้าเปิดเฉลี่ย 4 hours/day ทุกวันทั้งปี จะใช้ไฟเท่ากับ 1.091 x 4 x 365 = 1,554 kWh/year หรือ 1,554 units/year. เป็นเงินราวๆ 5,096 บาทต่อปี (คิดที่ 3.28B/unit) แล้วห้องขนาดนี้ใช้ แอร์ขนาดกี่บีทียู เวปไซต์นี้เลยครับ: Air Conditioner Calculator ใส่ขนาดห้อง, บอกสภาพฉนวนของห้อง (เยี่ยม ดีมาก ดี กลางๆ แย่), บอกระดับแดดที่ห้องโดน, ห้องเป็นห้องครัว? แล้วมันจะบอกขนาดแอร์เป็นบีทียูมาให้ (แต่อาจต้องบวกเพิ่มบ้างนะครับ มันเป็นเวปต่างประเทศ) ขอ ความสงบ ร่มเย็น เป็นสุข มีแก่ทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
* Wikipedia: EER, BTU, Air Conditioner
* http://www.powerknot.com/how-efficient-is-your-air-conditioning-system.html
* และอีกหลายๆที่
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น